หลักสูตร

 รายละเอียดของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
คณะเทคโนโลยีการเกษตร

หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

     รหัสและชื่อหลักสูตร
        รหัส :   25611611100154
       ภาษาไทย :  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร
        ภาษาอังกฤษ :  Bachelor of Science Program in Food Innovation and Business

.     ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
        ชื่อเต็ม (ไทย) :       วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมและธุรกิจอาหาร)
          ชื่อย่อ (ไทย) :        วท.บ. (นวัตกรรมและธุรกิจอาหาร)
        ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :   Bachelor of Science (Food Innovation and Business)
        ชื่อย่อ (อังกฤษ) :    B.S. (Food Innovation and Business)

     วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา
        ไม่มี

     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

    รูปแบบของหลักสูตร
      1) รูปแบบ
              หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
      2)  ประเภทของหลักสูตร 
              หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ  
      3)   ภาษาที่ใช้   ภาษาไทย
      4)    การรับเข้าศึกษา
               4.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
               4.2 ผู้เรียนต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. หรือเทียบเท่าทุก แผนการเรียน สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
   อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
                1.  นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
                2.  นักออกแบบอาหารอัตลักษณ์ชุมชน
                3.  ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม
                4.  พนักงานฝ่ายผลิตและควบคุมคุณภาพอาหาร

      ผลลัพธ์การเรียนรู้ของสาขานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร รู้ (Program Learning Outcomes: PLOs)
          PLO1 สามารถผลิตอาหารสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค 
                 (Sub PLO1.1) อธิบายหลักการแปรรูปอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ ได้
                 (Sub PLO1.2) ประยุกต์ใช้วิธีการแปรรูปเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารได้
                 (Sub PLO1.3) สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้

         PLO2 สามารถบริหารจัดการเวลา งาน การเงินได้อย่างสมดุล 
                (Sub PLO2.1) รู้และเข้าใจหลักการบริหารจัดการเวลา งาน การเงินที่มีประสิทธิภาพ
                (Sub PLO2.2) วางแผนบริหารจัดการเวลา งาน การเงินที่มีประสิทธิภาพ

         PLO3 สามารถวางแผนธุรกิจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและใช้ได้จริง
              (Sub PLO3.1) รู้และเข้าใจหลักการประกอบธุรกิจเบื้องต้น
              (Sub PLO3.2) วิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจอาหารและบริการเพื่อกำหนดกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจได้

        PLO4 สามารถนำเสนออัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นในรูปแบบที่ทันสมัยและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค 
                (Sub PLO4.1) รู้และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารรูปแบบใหม่
                (Sub PLO4.2) อธิบายอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นได้
                (Sub PLO4.3) นำเสนออัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นในรูปแบบที่ทันสมัยและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค

       PLO5สามารถออกแบบกระบวนการที่ผสานความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมสู่การเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน
               (Sub PLO5.1) อธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารด้วยหลักการทางวิชาการได้
                (Sub PLO5.2) เข้าใจการทำงานแบบมีส่วนร่วมได้
                (Sub PLO5.3) ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชนได้

การดำเนินการหลักสูตร
        1) วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                1. ภาคการศึกษาที่ 1  จัดการเรียนการสอนระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคม ในวันและเวลาราชการ และนอกเวลาราชการ (เสาร์-อาทิตย์)
                2. ภาคการศึกษาที่ 2  จัดการเรียนการสอนระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ในวันและเวลาราชการและนอกเวลาราชการ (เสาร์-อาทิตย์)  
                3. ภาคฤดูร้อน (ถ้ามี)   จัดการเรียนการสอนระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคมในวันและเวลาราชการและนอกเวลาราชการ (เสาร์-อาทิตย์)

        2) คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
               1.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
               2.  เป็นผู้มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2565 (ภาคผนวก ก) หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
               3.  เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเรื่อง การคัดเลือกนักเรียนและนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ซึ่งจะประกาศให้ทราบในแต่ละปีการศึกษา
    
        3) หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
            3.1  หลักสูตร  
               3.1.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต*
               3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร 

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    ไม่น้อยกว่า    24*    หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มสาระผู้มีความรอบรู้    
         1.1.1 บังคับ    จำนวน    3    หน่วยกิต
         1.1.2 เลือก     จำนวน    3    หน่วยกิต
    1.2 กลุ่มสาระผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม    
         1.2.1 บังคับ    จำนวน    3    หน่วยกิต
         1.2.2 เลือก    จำนวน    6    หน่วยกิต
    1.3 กลุ่มสาระผู้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง         
          1.3.1 บังคับ    จำนวน    3    หน่วยกิต
         1.3.2 เลือก      จำนวน    6    หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน      ไม่น้อยกว่า    90    หน่วยกิต
    2.1 กลุ่มวิชาบังคับ         ไม่น้อยกว่า    83    หน่วยกิต
           2.1.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ   จำนวน    30    หน่วยกิต
           2.2.1 วิชาเอก    จำนวน    53    หน่วยกิต
                  2.2.1.1 วิชาเอกบังคับ    จำนวน    32    หน่วยกิต
                  2.2.1.2 วิชาเอกเลือก    ไม่น้อยกว่า    21    หน่วยกิต
     2.2 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ     7    หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า    6    หน่วยกิต

หมายเหตุ * จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต เป็นผลรวมของหน่วยกิตวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต (ตามประกาศกระทรวงฯ พ.ศ. 2565) รวมกับหน่วยกิตในหมวดวิชาเฉพาะด้านและหมวดวิชาเลือกเสรีจำนวนไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต

2.6    งบประมาณตามแผน
        2.6.1 งบประมาณรายรับ (บาท)

รายละเอียดรายรับ

ปีงบประมาณ

2566

2567

2568

2569

2570

ค่าบำรุงการศึกษา

400,000

800,000

1,200,000

1,600,000

1,600,000

เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

75,000

150,000

  225,000

  300,000

 300,000

ค่าใช้จ่ายบุคลากร

2,842,080

2,984,184

3,133,393

3,290,0063

3,454,566

รวมรายรับ

2,817,080

3,434,184

4,058,393

4,690,063

4,854,566

 

26.2 งบประมาณรายจ่าย (บาท)

หมวดเงิน

ปีงบประมาณ

2566

2567

2568

2569

2570

  • งบดำเนินการ

 

 

 

 

 

1. ค่าใช้จ่ายบุคลากร

2,842,080

2,984,184

3,133,393

3,290,063

3,454,566

2. ค่าใช้จ่ายดำเนินการ

39,584

619,163

1,197,321

1,773,987

1,741,087

รวม (ก)

2,381,664

3,603,347

4,330,715

5,064,050

5,195,653

  • งบลงทุน

 

 

 

 

 

ค่าครุภัณฑ์

720,416

900,837

1,082,679

1,266,013

1,298,913

รวม (ข)

720,416

900,837

1,082,679

1,266,013

1,298,913

รวม (ก) + (ข)

3,102,080

4,004,184

4,913,393

5,830,063

5,994,566

จำนวนนักศึกษา

25

50

75

100

125

ค่าใช้จ่ายต่อหัว

124,083

80,084

65,512

58,301

59,946